บทความ

บัญชีรายรับ-รายจ่าย (Accounting)

รูปภาพ
Photo by molumen ( CC0 1.0 ) หมายเหตุ เจ้าของบล็อกไม่ได้จบบัญชี ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านนี้เลยด้วย แต่อาศัยเปิดหนังสือหัดทำเอาเอง ข้อมูลที่ได้ มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน เจ้าของบล็อกตอบไม่ได้ เจ้าของบล็อกแค่ต้องการแชร์ การลงบัญชีแบบบ้าน ๆ ที่เจ้าของบล็อกทำอยู่ ปัญหา  จดแล้ว ไม่จน นี่คือประโยคที่เราได้ยินกันมา แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นคือ ทำกันได้ไม่ถึง 3 เดือน หลังจากนั้น คนส่วนใหญ่ก็จะพูดกันว่า เราเอาแค่พอรู้คร่าว ๆ ของเราก็พอแล้ว การทำบัญชีส่วนบุคคล มันให้อะไรมากกว่านั้น ถ้าทำดี ๆ เป็นบัญชีคู่ เราก็สามารถนำมาวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของตัวเองได้เช่นกัน บัญชี ถ้าเราทำไว้ดูเอง ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับผู้ใด เราไม่ต้องไปกังวล ว่าจะลงถูกต้องเป๊ะ ๆ หรือไม่ เพราะตัวบัญชีเอง ก็ไม่ได้สมบูรณ์อะไรอยู่แล้ว (แต่ปัจจุบันหาเครื่องมือที่ดีกว่านี้ไม่ได้!) บัญชีเป็นแค่เครื่องมือช่วยเราคิดเท่านั้น แล้วเจ้าของบล็อกจะมายุ่งทำไม เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ถ้าคนอื่น เอาเงินไปใช้ แล้วไม่ได้ทำอะไรผิดกฏหมาย เราไม่ควรไปยุ่ง แต่อย่าลืมข้อนึงว่า ประเทศที่มั่งคั่ง ส่วนใหญ่เคยเป็นชาติที่มีอัตราการอ

พลังของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest rate)

รูปภาพ
Photo by Alex France ( CC BY-SA 2.0 ) หนึ่งในปัญหาของคนที่คิดจะเริ่มเก็บเงิน คือ "เก็บได้นิดเดียวเอง เก็บไปก็ไม่มีความหมาย เอาไปใช้ดีกว่า" วันนี้เจ้าของบล็อกจะมาแนะนำอย่างนึงคือ "ดอกเบี้ยทบต้น" และ "ออมก่อน รวยกว่า" สมมติว่าเราเอาเงินไปฝาก แล้วได้ดอกเบี้ยทบต้น 10% ต่อปี ดอกเบี้ยที่ได้เราก็นำไปลงทุนต่อไปอีก (ไม่ได้เอาไปใช้อย่างอื่น) จำนวนเงินที่ดูเหมือนเล็กน้อย ถ้าลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ ก็จะกลายเป็นเงินจำนวนที่มากได้เช่นกัน ดอกเบี้ยทบต้น ความสำคัญอยู่ที่ "เราเริ่มออมเงินตั้งแต่เมื่อไร" ไม่ได้สำคัญที่ "เราเก็บออมเงินได้จำนวนมากเท่าไร" ทีนี้เราจะมาเปรียบเทียบ 2 กรณีกัน กรณีที่ 1 เริ่มช้า แต่ออมหนัก สมมติเริ่มออมเงินได้ตอนอายุ 50 ปี เกษียณตอนอายุ 60 ปี โดยตั้งใจจะ ออมเงิน 20,000 บาทต่อเดือน ที่ อัตราดอกเบี้ยทบต้น 10% ต่อปี เป็น เวลา 10 ปี ปีที่ เงินฝากที่ใส่เข้าไปในแต่ละปี ดอกเบี้ยรับในแต่ละปี เงินฝากสุทธิ ดอกเบี้ยรับสุทธิ คงเหลือ 1 $ 240,000.00 $ 12,810.73 $ 240,000.00 $ 12,810.73 $ 252,810.73 2 $ 240,00

ขยะมีค่า อย่าพึ่งทิ้ง

รูปภาพ
Photo by AJ ( CC0 1.0 ) ขยะที่มีค่าบางอย่าง  ที่สามารถนำไปรีไซเคิล (Recycle) ได้ เช่น ขวดพลาสติก กระดาษหนังสือพิมพ์ ของที่มีทองแดง ถ้าแถวบ้าน มีคนมารับซื้อ (ดูคนที่น่าไว้ใจด้วย) แล้วที่บ้าน มีพื้นที่ ที่สำหรับไว้วางของ (จัดให้เป็นระเบียบ และ ไม่ทำให้เพื่อนบ้านเดือดร้อน) ลองคัดแยกขยะ แล้วนำขยะไปช่างกิโลขายดู ขายทีนึง จะได้ราว ๆ 10-60 บาท แล้วแต่ปริมาณของ เท่าที่เจ้าของบล็อกจดบันทึกมา ปีนึง เราจะได้เงินประมาณ 500 - 1000 บาท แล้วแต่ปริมาณขยะในปีนั้น ๆ ผลประโยชน์ที่ได้จากการคัดแยกขยะ รักษาสภาพแวดล้อม เพราะ ของรีไซเคิลได้หลายอย่าง สามารถนำเข้ากระบวนการแปรรูปไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ ได้เงินคืน สร้างอาชีพ สิ่งที่ควรระวัง กระดาษหนังสือพิมพ์ที่กอง ๆ ไว้ เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ระวังสัตว์มีพิษ ไปอาศัยอยู่ในกองขยะที่เราวางเอาไว้ ถ้าเราเก็บไม่ดี เวลาเก็บ ควรเก็บไว้เป็นสัดส่วนในตัวบ้าน ไม่ควรไปทำให้ทัศนียภาพของเมืองเสียหาย เช่น เอาออกมากองไว้หน้าบ้าน จนล้นออกมา หรือ เอาไปวางไว้หน้าบ้าน จนทำให้ดูน่ารำคาญสำหรับเพื่อนบ้าน ดูคนที่มารับซื้อด้วย ว่าน่าไว้ใจไหม

ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง

รูปภาพ
Photo by scyg ( CC0 1.0 ) กฎของความร่ำรวย คือ หาให้ได้ มากกว่า ที่ใช้จ่ายไป ฟังดูเรียบง่ายจนดูตลก แต่มันคือความจริง วิธีนึงที่น่าสนใจ คือ ตัดค่าใช้จ่าย ใช้ให้น้อยลง มีคนญี่ปุ่น เคยให้คติไว้ว่า ประหยัดได้ 1 บาท เท่ากับหามาได้ 2 บาท  เหตุผลเบื้องหลังคือ ถ้าเราประหยัดรายจ่าย ฟุ่มเฟือย เช่น ปิดแอร์ตั้งแต่ 03.00 น., ไม่เปิดไฟฟุ่มเฟือย, ไม่ซื้อของเทคโนโลยีเกินจำเป็น เราก็สามารถเก็บเงินได้ทันที แทบจะไม่มีต้นทุนอะไรเพิ่ม แตกต่างจากเวลาเราไปหาเงิน เราต้องออกเดินทาง ขึ้นรถ ขึ้นเรือ ขึ้นรถไฟฟ้า ขับรถไป ทุกอย่างมีต้นทุน คือ ค่าน้ำมัน ค่าโดยสาร ดังนั้น การเริ่มต้นก็ คือ ตัดค่าใช้จ่ายที่ ฟุ่มเฟือย ออก จากประสบการณ์ของเจ้าของบล็อก รายจ่ายส่วนใหญ่ที่เกินจำเป็นและน่าจะแก้ได้ สำหรับคนธรรมดาทั่วไป ได้แก่ ค่าซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ -> เรามักจะซื้ออาหาร ขนม น้ำผลไม้ที่ฟุ่มเฟือย ทั้ง ๆ ที่เรามีทางเลือกที่ดีกว่ามากมาย เช่น เปลี่ยนจากกินขนม เปลี่ยนเป็น ผลไม้ตามฤดูกาลที่ราคาเหมาะสม อาหารสำเร็จรูปราคาแพง เปลี่ยนเป็น ผักสด เนื้อปลา-ไก่ ตามสมควร กินเป็นมื้อ ๆ ไม่ก

รายได้ - เงินออม = รายจ่าย

รูปภาพ
Photo by GR8DAN ( CC0 1.0 ) ข้อผิดพลาดของคนส่วนใหญ่ ในการออมเงินคือ รายได้ - รายจ่าย = เงินออม บทเรียนจากหนังสือ เศรษฐีชี้ทางรวย  (The Richest Man in Babylon โดย George Samuel Clason) หนังสือเล่มนี้ เขียนขึ้นในช่วงปี 1926 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) บทแรก ๆ เลยคือ เมื่อเรามีรายได้เท่าไร ให้เอามาออมก่อน (อย่างน้อย 10% ของรายได้) ที่เหลือค่อยเอาไปใช้จ่าย เราจะได้สมการเป็น รายได้ - เงินออม = รายจ่าย ฟังดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ที่จริงมีผลทางจิตวิทยาค่อนข้างมาก เพราะคนส่วนใหญ่ จะใช้เงินไปเรื่อย ๆ ตราบใดเท่าที่เงินยังมีอยู่ในกระเป๋าสตางค์ สังเกตได้ว่า ต้นเดือน ทุกคนจะกินอาหารหรูหรา แต่พอปลายเดือน หันไปกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกัน วิธีเดียวกันนี้ จะคล้ายกับวิธีซองจดหมาย หลาย ๆ คนที่ควบคุมเงินตัวเองไม่ได้ บางคนจะใช้ซองจดหมาย เขียนไว้เลยว่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าขนมลูก ค่าใช้จ่ายส่วนตัว พอได้เงินมา ก็จะใส่เข้าไปในแต่ละซองก่อน แล้วใช้เท่าที่มีอยู่ในซองนั้นเท่านั้น ข้อผิดพลาดอีกข้อหนึ่งก็คือ เก็บได้แค่นิดเดียวเอง ไม่เห็นจะมีอะไรดีขึ้นเลย ไม่เก็บแล้ว ทุกคนที่ร

ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการใช้บริการ (Disclaimer and Terms of Use Agreement)

รูปภาพ
Photo  by  missiridia  ( CC0 1.0 ) ผู้ใดที่เข้าใช้บล็อก ถือว่าได้ยอมรับเงื่อนไข การใช้บริการเยี่ยมชมบล็อกอยู่ภายใต้ข้อตกลงดังต่อไปนี้ บล็อก All about basic saving จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น และไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญได้ บล็อก All about basic saving ไม่ยืนยันความถูกต้องหรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลใด ๆ คุณตกลงยอมรับความเสี่ยงในการนำข้อมูลไปใช้งานด้วยตัวคุณเอง และเราไม่มีส่วนรับผิดชอบจากความสูญเสียใด ๆ ทั้งสิ้นที่เกิดจากการใช้งานข้อมูล ในบางบทความในบล็อกนี้ มีการเชื่อมโยงกับ Web site ของบุคคลที่สาม ทั้งนี้ เป็นเพียงการให้บริการเพื่อความสะดวกเท่านั้น ดังนั้น บล็อก All about basic saving จึงไม่มีอำนาจควบคุม รับรอง ยืนยันความถูกต้องหรือความน่าเชื่อถือ หรือรับผิดชอบในเนื้อหาข้อมูลของ Web site ของบุคคลที่สาม นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดในการที่ผู้ใช้จะนำไปเผยแพร่อีกต่อหนึ่งตาม กฎหมายลิขสิทธิ์ ดังนั้นผู้ใช้จะต้องติดต่อขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในข้อมูลดังกล่าวจากเจ้าของ ข้อมูลโดยตรง ผู้ใช้ยอมรับและตระหนักดีว่า บล็อก All about basic saving จะไม่ต้องรับผิดชอบต

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)

  นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) ผู้ให้บริการบุคคลที่สามรวมถึง Google ใช้คุกกี้เพื่อแสดงโฆษณาตามการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณหรือเว็บไซต์อื่นๆ ที่ผ่านมาของผู้ใช้ การใช้คุกกี้ของโฆษณาทำให้ Google และพาร์ทเนอร์สามารถแสดงโฆษณาต่อผู้ใช้ของคุณตามการเข้าชมเว็บไซต์ที่คุณเป็นเจ้าของ และ/หรือเว็บไซต์อื่นบนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกไม่ใช้การโฆษณาที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับแต่ละบุคคลโดยไปที่ เครื่องมือตั้งค่าโฆษณา  (หรือคุณสามารถนำทางผู้ใช้ให้เลือกไม่ใช้การใช้งานคุกกี้ของผู้ให้บริการบุคคลที่สามสำหรับการโฆษณาที่ปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้โดยไปที่  www.aboutads.info )