ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง

รูปก๊อกน้ำ ที่มีน้ำหยดออกมา ข้างในน้ำมีรูปสัญลักษณ์สื่อถึงเงิน
Photo by scyg (CC0 1.0)
กฎของความร่ำรวย คือ
หาให้ได้ มากกว่า ที่ใช้จ่ายไป
ฟังดูเรียบง่ายจนดูตลก แต่มันคือความจริง

วิธีนึงที่น่าสนใจ คือ ตัดค่าใช้จ่าย ใช้ให้น้อยลง
มีคนญี่ปุ่น เคยให้คติไว้ว่า
ประหยัดได้ 1 บาท เท่ากับหามาได้ 2 บาท 
เหตุผลเบื้องหลังคือ
ถ้าเราประหยัดรายจ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ปิดแอร์ตั้งแต่ 03.00 น., ไม่เปิดไฟฟุ่มเฟือย, ไม่ซื้อของเทคโนโลยีเกินจำเป็น
เราก็สามารถเก็บเงินได้ทันที แทบจะไม่มีต้นทุนอะไรเพิ่ม

แตกต่างจากเวลาเราไปหาเงิน
เราต้องออกเดินทาง ขึ้นรถ ขึ้นเรือ ขึ้นรถไฟฟ้า ขับรถไป
ทุกอย่างมีต้นทุน คือ ค่าน้ำมัน ค่าโดยสาร


ดังนั้น การเริ่มต้นก็ คือ ตัดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยออก
จากประสบการณ์ของเจ้าของบล็อก
รายจ่ายส่วนใหญ่ที่เกินจำเป็นและน่าจะแก้ได้ สำหรับคนธรรมดาทั่วไป ได้แก่

  1. ค่าซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ
    -> เรามักจะซื้ออาหาร ขนม น้ำผลไม้ที่ฟุ่มเฟือย
    ทั้ง ๆ ที่เรามีทางเลือกที่ดีกว่ามากมาย เช่น
    เปลี่ยนจากกินขนม เปลี่ยนเป็น ผลไม้ตามฤดูกาลที่ราคาเหมาะสม
    อาหารสำเร็จรูปราคาแพง เปลี่ยนเป็น ผักสด เนื้อปลา-ไก่ ตามสมควร
    กินเป็นมื้อ ๆ ไม่กินจุบจิบ
    รวมถึงค่ากาแฟราคาแพง (แก้วละ 80 บาท กิน 365 วัน = 29,200 บาท)

    สมมติเงินเดือน 15,000 บาท ทำงาน 22 วัน  ตกค่าแรงวันละ 681 บาท (สมมติว่าเป็นขั้นต่ำ)
    กาแฟ 80 บาท = 10% ของค่าแรงเข้าไปแล้ว
  2. ค่าทานอาหารนอกบ้าน
    -> ถ้าทำอาหารเอง กินเองที่บ้าน ราคาค่อนข้างจะถูกกว่ามาก

    ค่าข้าวนอกบ้าน ร้านอาหารหรูหน่อย เฉลี่ย 300 บาท ต่อการเข้าไปทาน 1 ครั้ง
    300/681 = 44% ของค่าแรงต่อวัน
  3. ค่าเหล้า-บุหรี่
    -> บางบ้าน คิดเป็น 25% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าเลิกได้ จะช่วยได้มาก
  4. ค่าช็อปปิ้ง
    -> ข้อนี้ คุณผู้หญิง มักจะจมเงินไปกับการซื้อเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า มากเกินความจำเป็น
  5. ค่าสินค้าเทคโนโลยี
    -> สินค้าพวกนี้ รอบของการออกจะเร็วมาก ปัจจุบัน อยู่ที่ 6 เดือน ดังนั้น อย่าไปไล่รุ่น
    ซื้อตามจำเป็นที่เราต้องใช้ทำงาน (ไม่นับซื้อมาเล่นเกม)
  6. ค่าไฟฟ้า ดูไอเดียวิธีลดค่าไฟฟ้า
นอกจากนี้ เราควรต้องระวังเรื่องการตลาด เป็นกับดักที่เรามักจะติดง่ายในปัจจุบัน
หัวข้อนึงที่ควรรู้คือ เรื่อง การบริโภคโอ้อวด (Conspicuous consumption)
หนึ่งในเป้าหมายของการโฆษณาและการตลาดก็คือการทำให้ผู้คนไม่มีความสุขกับสิ่งที่ตนมีอยู่ และพวกเขาก็จะซื้อหาสิ่งใหม่ ๆ - Thorstein Veblen

สิ่งที่เราระวังได้อีกตัวนึงก็คือ ต้นทุนสุขภาพ
ปัญหาทางด้านสุขภาพสามารถสร้างรายจ่ายให้แก่เราได้มหาศาล (ใครไม่เคยมีญาติผู้ใหญ่ที่ป่วยเรื้อรังอาจจะไม่รู้เรื่องนี้)
วิธีแก้คือ ต้องตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือ ดูแลสุขภาพตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

หลักการทั่วไปคือ
  1. รับวัคซีนให้ครบ
  2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหมุนเวียนเมนูอาหารเสมอ
  3. หลีกเลี่ยง หวาน มัน เค็ม
  4. ควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วน
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่รู้จะทำอะไร หาเพื่อนออกไปเดินเร็ว อย่างน้อยวันละ 30-60 นาที (ถ้ามีโรคเรื้อรังเยอะ ๆ ปรึกษาแพทย์ก่อนจะวางแผนออกกำลังกาย)
  6. กินยาอะไรอยู่ คอยปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเป็นระยะ ๆ ด้วย ยาหลาย ๆ ตัว มีผลเยอะกับตับไต ถ้าเราซื้อยามาใช้เอง ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ อาจจะส่งผลให้ตับไตเราเสียถาวรได้ ซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเยอะมาก
  7. ถ้ามีโรค ไขมัน ความดัน เบาหวาน คอยกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ (คอยพบแพทย์เป็นระยะ ๆ อย่าซื้อกินเอง) เพราะพวกนี้เป็นโรคเรื้อรัง ถ้าคุมไม่ดี จะทำให้พวกระบบหลอดเลือดมีปัญหา ทำให้โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ ไต ถามหาเอาได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ขยะมีค่า อย่าพึ่งทิ้ง

รายได้ - เงินออม = รายจ่าย