พลังของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest rate)

ลูกบอลหิมะสีขาว บนพื้นสีดำ
Photo by Alex France (CC BY-SA 2.0)

หนึ่งในปัญหาของคนที่คิดจะเริ่มเก็บเงิน คือ
"เก็บได้นิดเดียวเอง เก็บไปก็ไม่มีความหมาย เอาไปใช้ดีกว่า"

วันนี้เจ้าของบล็อกจะมาแนะนำอย่างนึงคือ "ดอกเบี้ยทบต้น" และ "ออมก่อน รวยกว่า"
สมมติว่าเราเอาเงินไปฝาก แล้วได้ดอกเบี้ยทบต้น 10% ต่อปี ดอกเบี้ยที่ได้เราก็นำไปลงทุนต่อไปอีก (ไม่ได้เอาไปใช้อย่างอื่น)
จำนวนเงินที่ดูเหมือนเล็กน้อย ถ้าลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ ก็จะกลายเป็นเงินจำนวนที่มากได้เช่นกัน
ดอกเบี้ยทบต้น ความสำคัญอยู่ที่
"เราเริ่มออมเงินตั้งแต่เมื่อไร"
ไม่ได้สำคัญที่ "เราเก็บออมเงินได้จำนวนมากเท่าไร"

ทีนี้เราจะมาเปรียบเทียบ 2 กรณีกัน

กรณีที่ 1

เริ่มช้า แต่ออมหนัก

สมมติเริ่มออมเงินได้ตอนอายุ 50 ปี เกษียณตอนอายุ 60 ปี
โดยตั้งใจจะออมเงิน 20,000 บาทต่อเดือน ที่อัตราดอกเบี้ยทบต้น 10% ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี

ปีที่เงินฝากที่ใส่เข้าไปในแต่ละปีดอกเบี้ยรับในแต่ละปีเงินฝากสุทธิดอกเบี้ยรับสุทธิคงเหลือ
1$ 240,000.00$ 12,810.73$ 240,000.00$ 12,810.73$ 252,810.73
2$ 240,000.00$ 38,091.81$ 480,000.00$ 50,902.54$ 530,902.54
3$ 240,000.00$ 65,900.99$ 720,000.00$ 116,803.52$ 836,803.52
4$ 240,000.00$ 96,491.08$ 960,000.00$ 213,294.61$ 1,173,294.61
5$ 240,000.00$ 130,140.19$ 1,200,000.00$ 343,434.80$ 1,543,434.80
6$ 240,000.00$ 167,154.21$ 1,440,000.00$ 510,589.01$ 1,950,589.01
7$ 240,000.00$ 207,869.63$ 1,680,000.00$ 718,458.65$ 2,398,458.65
8$ 240,000.00$ 252,656.60$ 1,920,000.00$ 971,115.24$ 2,891,115.24
9$ 240,000.00$ 301,922.26$ 2,160,000.00$ 1,273,037.50$ 3,433,037.50
10$ 240,000.00$ 356,114.48$ 2,400,000.00$ 1,629,151.98$ 4,029,151.98

กรณีที่ 2

ออมก่อนรวยกว่า

สมมติเริ่มออมเงินได้ตอนอายุ 30 ปี เกษียณตอนอายุ 60 ปี
โดยตั้งใจจะออมเงิน 2,000 บาทต่อเดือน ที่อัตราดอกเบี้ยทบต้น 10% ต่อปี เป็นเวลา 30 ปี

ปีที่เงินฝากที่ใส่เข้าไปในแต่ละปีดอกเบี้ยรับในแต่ละปีเงินฝากสุทธิดอกเบี้ยรับสุทธิคงเหลือ
1$ 24,000.00$ 1,281.07$ 24,000.00$ 1,281.07$ 25,281.07
2$ 24,000.00$ 3,809.18$ 48,000.00$ 5,090.25$ 53,090.25
3$ 24,000.00$ 6,590.10$ 72,000.00$ 11,680.35$ 83,680.35
4$ 24,000.00$ 9,649.11$ 96,000.00$ 21,329.46$ 117,329.46
5$ 24,000.00$ 13,014.02$ 120,000.00$ 34,343.48$ 154,343.48
6$ 24,000.00$ 16,715.42$ 144,000.00$ 51,058.90$ 195,058.90
7$ 24,000.00$ 20,786.96$ 168,000.00$ 71,845.86$ 239,845.86
8$ 24,000.00$ 25,265.66$ 192,000.00$ 97,111.52$ 289,111.52
9$ 24,000.00$ 30,192.23$ 216,000.00$ 127,303.75$ 343,303.75
10$ 24,000.00$ 35,611.45$ 240,000.00$ 162,915.20$ 402,915.20
11$ 24,000.00$ 41,572.59$ 264,000.00$ 204,487.79$ 468,487.79
12$ 24,000.00$ 48,129.85$ 288,000.00$ 252,617.64$ 540,617.64
13$ 24,000.00$ 55,342.84$ 312,000.00$ 307,960.48$ 619,960.48
14$ 24,000.00$ 63,277.12$ 336,000.00$ 371,237.60$ 707,237.60
15$ 24,000.00$ 72,004.83$ 360,000.00$ 443,242.44$ 803,242.44
16$ 24,000.00$ 81,605.32$ 384,000.00$ 524,847.75$ 908,847.75
17$ 24,000.00$ 92,165.85$ 408,000.00$ 617,013.60$ 1,025,013.60
18$ 24,000.00$ 103,782.43$ 432,000.00$ 720,796.04$ 1,152,796.04
19$ 24,000.00$ 116,560.68$ 456,000.00$ 837,356.71$ 1,293,356.71
20$ 24,000.00$ 130,616.74$ 480,000.00$ 967,973.46$ 1,447,973.46
21$ 24,000.00$ 146,078.42$ 504,000.00$ 1,114,051.87$ 1,618,051.87
22$ 24,000.00$ 163,086.26$ 528,000.00$ 1,277,138.14$ 1,805,138.14
23$ 24,000.00$ 181,794.89$ 552,000.00$ 1,458,933.02$ 2,010,933.02
24$ 24,000.00$ 202,374.38$ 576,000.00$ 1,661,307.40$ 2,237,307.40
25$ 24,000.00$ 225,011.81$ 600,000.00$ 1,886,319.21$ 2,486,319.21
26$ 24,000.00$ 249,912.99$ 624,000.00$ 2,136,232.21$ 2,760,232.21
27$ 24,000.00$ 277,304.29$ 648,000.00$ 2,413,536.50$ 3,061,536.50
28$ 24,000.00$ 307,434.72$ 672,000.00$ 2,720,971.22$ 3,392,971.22
29$ 24,000.00$ 340,578.20$ 696,000.00$ 3,061,549.42$ 3,757,549.42
30$ 24,000.00$ 377,036.01$ 720,000.00$ 3,438,585.43$ 4,158,585.43

จะเห็นได้กว่า
กรณีที่ 1 เงินต้น 2,400,000 บาท ดอกเบี้ยรับ 1,629,152 บาท เงินเก็บสุทธิ 4 ล้านกว่า ๆ
กรณีที่ 2 เงินต้น 720,000 บาท ดอกเบี้ยรับ 3,438,585 บาท เงินเก็บสุทธิ 4 ล้านกว่า ๆ

กรณีที่ 2 ใช้เงินต้นน้อยกว่ามาก แต่เริ่มต้นออมเร็วกว่ากรณีที่ 1 มากพอสมควร
เลยได้พลังจากดอกเบี้ยทบต้นที่สมน้ำสมเนื้อ

การเก็บเงินในลักษณะนี้ ก็เหมือนการปั้นก้อนลูกหิมะ แล้วกลิ้งลงมาจากภูเขา
ตอนแรก ๆ ลูกหิมะที่เราปั้น ลูกมันจะเล็กและกลิ้งช้า (จนบางทีหลาย ๆ คนก็เผาลูกหิมะของตัวเองทิ้งไปเลย)
แต่พอกลิ้งลงมา ลูกหิมะที่เกาะกันเป็นก้อน จะใหญ่เร็วขึ้น และกลิ้งเร็วขึ้นเรื่อย ๆ
พอลูกใหญ่ ทั้งขนาดและความเร็ว จะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าตอนลูกเล็กมาก
คงพอจะเห็นภาพ

ถ้าท่านเริ่มเก็บออมได้เร็ว ท่านจะได้เริ่มต้นอยู่บนภูเขาลูกที่ค่อนข้างจะสูง
เวลาจะเป็นเพื่อนที่ดีของท่านเอง

แล้ววันนี้พวกท่าน เริ่มปั้นลูกหิมะของพวกท่านกันแล้วหรือยัง?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ขยะมีค่า อย่าพึ่งทิ้ง

ลดค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง

รายได้ - เงินออม = รายจ่าย