บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2013

บัญชีรายรับ-รายจ่าย (Accounting)

รูปภาพ
Photo by molumen ( CC0 1.0 ) หมายเหตุ เจ้าของบล็อกไม่ได้จบบัญชี ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านนี้เลยด้วย แต่อาศัยเปิดหนังสือหัดทำเอาเอง ข้อมูลที่ได้ มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน เจ้าของบล็อกตอบไม่ได้ เจ้าของบล็อกแค่ต้องการแชร์ การลงบัญชีแบบบ้าน ๆ ที่เจ้าของบล็อกทำอยู่ ปัญหา  จดแล้ว ไม่จน นี่คือประโยคที่เราได้ยินกันมา แต่ส่วนใหญ่ที่เห็นคือ ทำกันได้ไม่ถึง 3 เดือน หลังจากนั้น คนส่วนใหญ่ก็จะพูดกันว่า เราเอาแค่พอรู้คร่าว ๆ ของเราก็พอแล้ว การทำบัญชีส่วนบุคคล มันให้อะไรมากกว่านั้น ถ้าทำดี ๆ เป็นบัญชีคู่ เราก็สามารถนำมาวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของตัวเองได้เช่นกัน บัญชี ถ้าเราทำไว้ดูเอง ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับผู้ใด เราไม่ต้องไปกังวล ว่าจะลงถูกต้องเป๊ะ ๆ หรือไม่ เพราะตัวบัญชีเอง ก็ไม่ได้สมบูรณ์อะไรอยู่แล้ว (แต่ปัจจุบันหาเครื่องมือที่ดีกว่านี้ไม่ได้!) บัญชีเป็นแค่เครื่องมือช่วยเราคิดเท่านั้น แล้วเจ้าของบล็อกจะมายุ่งทำไม เคยมีคนกล่าวไว้ว่า ถ้าคนอื่น เอาเงินไปใช้ แล้วไม่ได้ทำอะไรผิดกฏหมาย เราไม่ควรไปยุ่ง แต่อย่าลืมข้อนึงว่า ประเทศที่มั่งคั่ง ส่วนใหญ่เคยเป็นชาติที่มีอัตรา...

พลังของดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest rate)

รูปภาพ
Photo by Alex France ( CC BY-SA 2.0 ) หนึ่งในปัญหาของคนที่คิดจะเริ่มเก็บเงิน คือ "เก็บได้นิดเดียวเอง เก็บไปก็ไม่มีความหมาย เอาไปใช้ดีกว่า" วันนี้เจ้าของบล็อกจะมาแนะนำอย่างนึงคือ "ดอกเบี้ยทบต้น" และ "ออมก่อน รวยกว่า" สมมติว่าเราเอาเงินไปฝาก แล้วได้ดอกเบี้ยทบต้น 10% ต่อปี ดอกเบี้ยที่ได้เราก็นำไปลงทุนต่อไปอีก (ไม่ได้เอาไปใช้อย่างอื่น) จำนวนเงินที่ดูเหมือนเล็กน้อย ถ้าลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย ๆ ก็จะกลายเป็นเงินจำนวนที่มากได้เช่นกัน ดอกเบี้ยทบต้น ความสำคัญอยู่ที่ "เราเริ่มออมเงินตั้งแต่เมื่อไร" ไม่ได้สำคัญที่ "เราเก็บออมเงินได้จำนวนมากเท่าไร" ทีนี้เราจะมาเปรียบเทียบ 2 กรณีกัน กรณีที่ 1 เริ่มช้า แต่ออมหนัก สมมติเริ่มออมเงินได้ตอนอายุ 50 ปี เกษียณตอนอายุ 60 ปี โดยตั้งใจจะ ออมเงิน 20,000 บาทต่อเดือน ที่ อัตราดอกเบี้ยทบต้น 10% ต่อปี เป็น เวลา 10 ปี ปีที่ เงินฝากที่ใส่เข้าไปในแต่ละปี ดอกเบี้ยรับในแต่ละปี เงินฝากสุทธิ ดอกเบี้ยรับสุทธิ คงเหลือ 1 $ 240,000.00 $ 12,810.73 $ 240,000.00 $ 12,810.73 $ 252,810.73 2 $ 240,00...